“บิ๊กแดง” ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเปิดเพลง “หนักแผ่นดิน” ผ่านวิทยุในเครือกองทัพบก 160 สถานีทั่วประเทศ หวังปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ เพลงหนักแผ่นดิน – วันที่ 18 ก.พ. พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้สั่งการให้กรมกิจการพลเรือนทหารบก นำเพลงปลุกใจทหาร เช่น เพลง มาร์ชกองทัพบก หนักแผ่นดิน และ ความฝันอันสูงสุด เป็นต้น เปิดในสถานีวิทยุกองทัพบกกว่า 160 สถานีทั่วประเทศ ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ในรายการ “ทบ.เพื่อประชาชน” และเวลา 12.00 น. ในรายการ รู้รักสามัคคีทำความดีเพื่อแผ่นดิน ทั้งเชื่อมต่อกับเสียงตามสายภายในกองทัพบกด้วย จุดประสงค์เพื่อให้ทหารทุกคนตระหนักในการทำหน้าที่ของตัวเอง สำนึกต่อความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
เนื่องจากที่ผ่านมามีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์แล้วนำข้อมูลที่บิดเบือนมาโจมตี
เพื่อสร้างความเข้าใจผิดกับการปฏิบัติงานของรัฐบาล และกองทัพ ดังนั้นหน่วยงานต้องชี้แจงผ่านสื่อในสังกัด และหน่วยงานของตนเองอย่างรวดเร็ว วันที่ 19 ก.พ. เป็นวันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในประเทศ-นอกราชอาณาจักร วันสุดท้าย ผู้ประสงค์ใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าสามารถลงทะเบียนได้ถึงเวลาเที่ยงคืนของวันนี้
เพลงหนักแผ่นดิน – วันที่ 18 ก.พ. เวลา 13.25 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ตอบผู้สื่อข่าวกรณี พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) บอก และที่ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดอย่างไรกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่เสนอตัดงบประมาณของกระทรวงกลาโหม 10 เปอร์เซ็นต์ พล.อ.ประวิตร กล่าวย้ำว่า “ให้ไปฟังเพลงจากผบ.ทบ.ให้ไปฟังเพลง” เมื่อถามถึงข้อเสนอให้มีรัฐบาลรักษาการ ตามที่มีการเรียกร้องหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่มี กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้
“หนักแผ่นดิน” เพลงสุดแสนอมตะนิรันดร์กาลในการรับใช้แนวคิดทางการเมืองกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เมื่อพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ตอบกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เสนอนโยบายลดการเกณฑ์ทหาร และลดงบกลาโหมลง 10 เปอร์เซนต์ ด้วยการให้ไปฟังเพลง “หนักแผ่นดิน” ซึ่งนโยบายดังกล่าวย่อมส่งผลโดยตรงถึงระบบโครงสร้าง และหน่วยกำลังพลภายในกองทัพ
แล้วทำไม การวางนโยบายลดกำลังทหารถึง “หนักแผ่นดิน?” นโยบายดังกล่าวถ่วงแผ่นดิน ทำให้แผ่นดินไม่เจริญอภิวัฒน์อย่างนั้นหรือ
จริง ๆ แล้ว เพลงหนักแผ่นดิน เกี่ยวโยงโดยตรงกับสถาบันทหาร ซึ่งใช้เป็นเพลงปลุกใจเพื่อสำเสนออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่ง โดยเพลงหนักแผ่นดินนี้ถูกแต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ประพันธ์คำร้องโดย พ.อ.บุญส่ง หักฤทธิ์ศึก และขับร้องโดย ส.อ.อุบล คงสิน และศิริจันทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ใช้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการสื่อสารทหารบก กองทัพบก ในการต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนการคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ. 2518-2523 ต่อมาใน พ.ศ. 2520 นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ “หนักแผ่นดิน” กำกับโดย สมบัติ เมทะนี แสดงนำโดยสมบัติ เมทะนี และนัยนา ชีวานันท์
ผบ.ทบ. ไล่ สุดารัตน์ ฟังเพลง “หนักแผ่นดิน” หลังชูนโยบาย “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร-ตัดงบกลาโหม”
ผู้บัญชาการทหารบก ไล่ หญิงหน่อย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ฟังเพลง “หนักแผ่นดิน” หลังชูนโยบาย “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร-ตัดงบกลาโหม 10 เปอร์เซนต์”
เวลา 07.00 น. วันที่ 18 ก.พ. ผู้สื่อข่าวได้สอบถามพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ถึงการดูแลสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงหาเสียงขณะนี้ พล.อ.อภิรัชต์ย้อนถามกลับว่า “เพลงอะไรที่กำลังฮิตตอนนี้ ก็เพลงหนักแผ่นดินไง” ผู้สื่อข่าวถามต่อถึงกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เสนอนโยบายตัดงบกลาโหม 10 เปอร์เซ็นต์ และยกเลิกการเกณฑ์ทหาร พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า “ก็ให้ไปฟังเพลงหนักแผ่นดินไง”
ในขณะที่พล.ท.พรศักดิ์ พูนสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่4 กล่าวถึงการดูแลรักษาความเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้งว่า ขณะนี้ทุกอย่างมีความเรียบร้อยดี ทุกพรรคลงพื้นที่หาเสียงได้ ขณะที่ในส่วนของทหารวางตัวเป็นกลางทางการเมือง เน้นการดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก แต่หากมีพรรคการเมืองใดต้องการให้ดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมทางเจ้าหน้าที่ก็พร้อมจัดกำลังเพื่อสนับสนุน
ลัทธิคอมมิวนิสต์คือภัยจากภายนอกที่จะเข้ามาทำลายประเทศ และคนในชาติคนใดหากคิดังแนวคิดนั้น ก็คือคนขายชาติทำลายประเทศ น่าสนใจตรงที่ว่า 2518 คือปีเดียวก่อนที่ความรุนแรงทางการเมืองจะปะทุสูงสุดอีกครั้งจนนำไปสู่การสังหารหมู่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ส่งผลให้นิสิตนักศึกษาหลายคนหนีเข้าป่า ร่วมกับพรรคคมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และไทยก็เดินหน้าเปิดศึกปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ก่อนเปลี่ยนนโยบายเป็นไม้อ่อนในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 นำไปสู่การเดินหน้าปรองดองจนปัญหายุติลง
แม้ว่ากระแสลัทธิคอมมิวนิสต์จะล้มหายจากการเมืองไทย แต่เพลง “หนักแผ่นดิน” ก็ถูกหยิบนำมารับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยน “สาร” ไปตาามแต่บริบทการเมือง ณ ขณะนั้น ๆ เช่น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใช้เพลง “หนักแผ่นดิน” เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชิณวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนถึงล่าสุด ที่ผบ.ทบ. ใช้เพลงหนักแผ่นดินสื่อสารตอบโต้กับคุณหญิงสุดารัตน์ เมื่อประกาศนโยบายว่าจะลดงบกลาโหม – เลิกเกณฑ์ทหาร
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป